เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิกฟลายเออร์โบนัส

เงื่อนไขการบิน

เงื่อนไขในการขนส่งนิยามคำจำกัดความลักษณะการปรับ/บังคับใช้บัตรโดยสารค่าโดยสาร ภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บต่าง ๆการสำรองการแจ้งเช็คอิน และการขึ้นเครื่องโดยสารการปฏิเสธและการข้อจำกัดของการเดินทางกระเป๋าสัมภาระการกำหนดตาราง ความล่าช้า และการยกเลิกเที่ยวบินการขอรับเงินคืนการดำเนินการเกี่ยวกับอากาศยานที่อยู่ระหว่างการเดินทางการบริการจัดการบริการเสริมต่าง ๆลักษณะธรรมเนียมการบริหารจัดการการดำเนินการแทนของอากาศยานความรับผิดต่อความเสียหายกรอบระยะเวลาในการเรียกร้อง และการดำเนินการต่าง ๆเงื่อนไขอื่น ๆการตีความหมายแผนสำรอง

๑๕.๑ ความรับผิดของบางกอกแอร์เวย์ และผู้ให้บริการขนส่งแต่ละรายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของผู้โดยสาร จะกำหนดขึ้นโดยเงื่อนไขของการขนส่งของส่วนนั้น ๆ เป็นสำคัญ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับความรับผิดของสายการบิน มีรายละเอียด ดังนี้

๑๕.๑.๑ เว้นแต่มีการกำหนดไว้ในที่นี้เป็นอย่างอื่น ให้การเดินทางระหว่างประเทศตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา เป็นไปตามหลักปฏิบัติในความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญา

๑๕.๑.๒ ในกรณีที่การบริการขนส่งของผู้โดยสารไม่ได้เป็นไปตามหลักปฏิบัติในความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญา ให้นำหลักปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้ มาใช้บังคับ

๑๕.๑.๒ (ก) ความรับผิดใด ๆ ที่สายการบินมีต่อความเสียหาย จะลดลงในกรณีที่มีส่วนที่เกี่ยวกับการประมาทเลินเล่อของผู้โดยสาร ซึ่งเป็นผล หรือทำให้เกิดความเสียหาย ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

๑๕.๑.๒ (ข) สายการบินจะขอรับผิดสำหรับความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งโดยอากาศยาน หรือในส่วนบริการต่าง ๆ ของสายการบิน ตามที่มีการแสดงรหัสผู้ให้บริการสายการบิน (airline designator code) ของสายการบิน ซึ่งแสดงไว้ในช่องแสดงอากาศยานบนบัตรโดยสารสำหรับสายการบินนั้น ๆ หรือส่วนบริการต่าง ๆ ของสายการบินนั้น ๆ เท่านั้น โดยหากสายการบินได้ออกบัตรโดยสาร หรือหากสายการบินได้ตรวจรับ และเก็บกระเป๋าสัมภาระไว้ในห้องเก็บสัมภาระของอากาศยาน หรืออากาศยานอื่น ๆ สายการบินจะดำเนินการเช่นนั้น ก็ต่อเมื่อมีผู้แทนสำหรับอากาศยานอื่น ๆ อยู่ด้วยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวกับกระเป๋าที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บสัมภาระของอากาศยาน (checked baggage) ขอให้ผู้โดยสารยื่นคำร้อง/เรียกร้องได้ทั้งต่อผู้ให้บริการอากาศยานขาแรก หรือขาสุดท้ายในการเดินทางของผู้โดยสาร

๑๕.๑.๒ (ค) สายการบินจะไม่รับผิดต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับกระเป๋าสัมภาระที่มิได้ที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บสัมภาระของอากาศยาน (unchecked baggage) เว้นแต่ ความเสียหายนั้น ๆ มาจากความประมาทเลินเล่อของสายการบินเป็นสำคัญ

๑๕.๑.๒ (ง) สายการบินจะไม่รับผิดต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของสายการบินที่เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือระเบียบการปฏิบัติและข้อกำหนดของรัฐบาล หรือจากความผิดพลาดของผู้โดยสารในการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบการปฏิบัติ และข้อกำหนดดังกล่าว

๑๕.๑.๒ (จ) ในกรณีที่อนุสัญญาวอซอร์มีผลใช้บังคับ กำหนดให้ความรับผิดของสายการบินในกรณีของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกระเป๋าสัมภาระที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บกระเป๋าสัมภาระของอากาศยาน (checked baggage) โดยจำกัดขอบเขตความรับผิดไว้ประมาณ ๒๐ เหรียญดอลล่าร์ต่อกิโลกรัม และในกรณีที่เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกระเป๋าสัมภาระที่มิได้ที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บสัมภาระของอากาศยาน (unchecked baggage) มีวงเงินไม่เกิน ๔๐๐ เหรียญดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาต่อคน หรือกรณีที่อนุสัญญามอนทรีออลมีผลใช้บังคับ ให้มีมูลค่าไม่เกิน ๑,๑๓๑ SDRs สำหรับกระเป๋าสัมภาระที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บกระเป๋าสัมภาระของอากาศยาน (checked baggage) และที่มิได้ที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บสัมภาระของอากาศยาน (unchecked baggage) โดยให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อจำกัดต่อความรับผิดที่แตกต่างกันออกไป ให้นำข้อจำกัดที่แตกต่างดังกล่าวมาปรับใช้ ทั้งนี้ SDR ซึ่งคือ หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน (special drawing rights) ตามที่กำหนดโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กำหนดให้มูลค่าของ ๑ SDR เท่ากับ ๐.๗๒๑๖๔๑ เหรียญดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาโดยประมาณ แต่อัตราการแปลงค่าเงินต่าง ๆ อาจจะมีความผันผวน สำหรับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาวอซอร์ หากมิได้มีการบันทึกน้ำหนักของกระเป๋าสัมภาระไว้ในบัตรแสดงการตรวจสอบและเก็บกระเป๋าสัมภาระเข้าห้องเก็บสัมภาระของอากาศยาน (baggage check) กำหนดให้สันนิษฐานว่า น้ำหนักโดยรวมของกระเป๋าสัมภาระที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บกระเป๋าสัมภาระของอากาศยาน (checked baggage) นั้น ไม่เกินกว่าค่าชดเชยกระเป๋าสัมภาระที่กำหนดแบบให้เปล่า (ไม่ต้องชำระเงิน) สำหรับประเภทชั้นการโดยสารที่เดินทางในอากาศยานนั้น ๆ เป็นหลัก ในกรณีที่ กระเป๋าสัมภาระที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บกระเป๋าสัมภาระของอากาศยาน (checked baggage) นั้น ๆ มีมูลค่าสูงกว่าที่ประกาศ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในตามลักษณะของมูลค่าส่วนเกิน กำหนดให้ความรับผิดของสายการบินอยู่ที่มูลค่าที่กำหนดไว้ในส่วนที่สูงกว่านั้น ๆ เป็นสำคัญ เว้นแต่ในกรณีการกระทำ หรือละเว้นการกระทำ อันทำให้เกิด หรือเป็นการกระทำโดยประมาท ซึ่งอาจจะเป็นผลให้เกิดความเสียหายนั้น ๆ ขึ้น

๑๕.๑.๒ (ฉ) เว้นแต่มีบทบัญญัติอื่น ๆ ที่กำหนดเป็นการเฉพาะไว้ในเงื่อนไขเหล่านี้ สายการบินจะรับผิดต่อผู้โดยสารก็ต่อเมื่อมีลักษณะความเสียหายที่จะสามารถชดเชยได้แทนกลับมาคืนได้ ตามลักษณะความสูญหาย และมูลค่าที่มีการตรวจพิสูจน์ ตามอนุสัญญาฉบับนี้

๑๕.๑.๒ (ช) สายการบินจะไม่รับผิดต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสาร โดยผู้โดยสารจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เป็นเหตุเกิดขึ้นจากกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสาร แล้วส่งผลกระทบต่อบุคคล หรือทรัพย์สินอื่นใด โดยหมายรวมถึงทรัพย์สินของสายการบินด้วย

๑๕.๑.๒ (ซ) สายการบินจะไม่รับผิดต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับข้าวของ หรือสัมภาระที่มิได้รับอนุญาตให้บรรจุไว้ในกระเป๋าสัมภาระที่ผ่านการตรวจสอบและเก็บเข้าห้องเก็บกระเป๋าสัมภาระของอากาศยาน (checked baggage) ภายใต้ข้อที่ ๘.๓ โดยหมายรวมถึงรายการสัมภาระที่สามารถแตกหักหรือเสื่อมชำรุด รายการสัมภาระที่มีมูลค่าพิเศษ อาทิ เงินตรา อัญมณี โลหะมีค่า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนบุคคล ตั๋วแลกเงิน หลักทรัพย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาและเครื่องหัตถการต่าง ๆ หรือสิ่งมีค่าอื่น ๆ เอกสารทางธุรกิจ หนังสือเดินทาง และเอกสารพิสูจน์ตัวบุคคลต่าง ๆ เป็นต้น

๑๕.๑.๒ (ฌ) สายการบินขอสงวนสิทธิ์ในการรับผิดชอบกรณีสัมภาระได้รับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการลำเลียงขนส่งได้ เช่น

  • ร่องรอยฉีกขาดเล็กน้อย รอยขีดข่วน รอยบุบ รอยเปรอะเปื้อน
  • กุญแจล็อคสัมภาระ หรือสายรัดสัมภาระสูญหาย
  • ป้ายชื่อ พวงกุญแจ หรือถุงคลุมสัมภาระสูญหาย
  • ยางล้อสัมภาระเสื่อมสภาพ

๑๕.๑.๒ (ญ) สายการบินจะไม่รับผิดต่อภาวะความเจ็บป่วย การบาดเจ็บ หรือความพิการ รวมถึงการเสียชีวิต ที่เป็นผลมาจากเงื่อนไขทางกายภาพ หรือสำหรับลักษณะอาการที่รุนแรงขึ้นโดยเหตุจากสภาพ หรือเงื่อนไขดังกล่าว

๑๕.๑.๒ (ฎ) สัญญาของการขนส่ง ซึ่งหมายรวมถึงเงื่อนไขเหล่านี้ของการขนส่ง และการแบ่งแยก หรือการจำกัดเฉพาะกับการรับผิด ให้ถือว่ามีผลครอบคลุมถึงตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย (authorized agent) ผู้ให้บริการ พนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้แทนของสายการบินในส่วนใด ๆ ของการปฏิบัติงานตามสารัตถะที่นำมาใช้กับสายการบิน โดยมูลค่ารวมที่จะเรียกเก็บได้จากสายการบิน และจากตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย (authorized agent) ให้บริการ พนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้แทนของสายการบินในส่วนใด ๆ และบุคคลดังกล่าว จะต้องไม่เกินมูลค่าของการรับผิดโดยตัวสายการบินเอง ในกรณีที่ปรากฎว่ามีอยู่

๑๕.๑.๒ (ฏ) ไม่มีข้อบัญญัติใด ๆ ในเงื่อนไขเหล่านี้ของการขนส่ง ที่กำหนดให้ยกเว้นการแบ่งแยก หรือการจำกัดเฉพาะกับการรับผิด ภายใต้อนุสัญญา หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่มีการกำหนด หรืออธิบายไว้เป็นอื่นใด

๑๕.๒ อนุสัญญาวอซอร์ (Warsaw Convention)

เว้นแต่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การขนส่งระหว่างประเทศ ตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา เป็นไปตามหลักการปฏิบัติความรับผิดของอนุสัญญา

๑๕.๓ การเสียชีวิต และการบาดเจ็บของผู้โดยสาร

๑๕.๓.๑ ความรับผิดของสายการบินสำหรับความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต การเป็นแผล หรือการบาดเจ็บทางร่างกายอื่น ๆ ของผู้โดยสารที่อยู่ในเหตุการณ์ของอุบัติเหตุ กำหนดให้ข้อจำกัดทางการเงิน ซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมาย อนุสัญญา หรือสัญญาต่าง ๆ

๑๕.๓.๒ ความเสียหายใด ๆ ที่มีมูลค่าไม่เกิน ๑๑๓,๑๐๐ SDRs สายการบินจะไม่จำกัดความรับผิดของสายการบิน

๑๕.๓.๓ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม บทบัญญัติที่กำหนดในข้อ ๑๕.๓.๒ หากสายการบินพิสูจน์ว่า ความเสียหายนั้น ๆ เกิดขึ้นจาก หรือเป็นส่วนที่มาจาก ความประมาทเลินเล่อของผู้โดยสาร ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดหรือมีส่วนร่วมในความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อหรือการกระทำหรือละเว้นการกระทำโดยมิชอบ สายการบินย่อมพ้นจากความรับผิดทั้งหมด หรือบางส่วนเพียงเที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือการกระทำหรือละเว้นการกระทำโดยมิชอบ

๑๕.๓.๔ หากผู้โดยสารเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ สายการบินต้องกระทำการ ภายในสิบห้าวัน หลังจากที่มีการพบสภาพของบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้เรียกร้องต่อค่าตอบแทน หรือค่าชดเชยตามที่กำหนด โดยชำระเงินล่วงหน้าตามที่กำหนดเป็นไปตามลักษณะความถูกต้อง/ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลโดยตรง ซึ่งเป็นไปตามสัดส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้น

๑๕.๓.๕ โดยที่จะไม่ต้องตีความโดยอคติตามข้อที่ ๑๕.๓.๔ กำหนดให้ขอบเขตความรับผิด ไม่เกิน ๑๖,๐๐๐ SDRs ต่อผู้โดยสาร ๑ คน ในกรณีที่มีการเสียชีวิต

๑๕.๓.๖ การชำระเงินล่วงหน้าไม่ถือเป็นการยอมรับเกี่ยวกับการรับผิด และอาจจะเป็นการชดเชยต่อยอดรวมที่เกิดขึ้น ตามที่มีการชำระตามฐานความรับผิดของสายการบิน ทั้งนี้ ไม่สามารถเรียกคืนได้ เว้นแต่ในกรณีที่นำเสนอไว้ในข้อที่ ๑๕.๓.๔ หรือในสถานการณ์ใด ๆ ที่มีการตรวจพิสูจน์ต่อ ๆ มาว่า เป็นเหตุ หรือเป็นผลที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่ได้รับการชำระเงินล่วงหน้านั้น ๆ เอาไว้ ทำให้เกิดความเสียหายจากการประมาทเลินเล่อ หรือมิใช่บุคคลที่ทรงสิทธิต่อค่าชดเชยดังกล่าว